ปัจจุบันในงบการเงินก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนต่างๆ เช่น 

• ความไม่แน่นอนด้านสินทรัพย์ 
เกี่ยวกับความไม่แน่นอนถึงกระแสเงินสดที่จะได้รับจากการชำระของลูกหนี้ จึงให้เพ่งพิจารณาถึงการวัดมูลค่าของ
ลูกหนี้ด้วยมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน โดยการพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความไม่แน่นอนนั้น หรือในเชิงหนี้สิน
ก็ได้มีการพิจารณาถึงเรื่องหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และประมาณการหนี้สินอันเกิดจากความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ต่างๆ
ที่มีผลต่อความชัดแจ้งของภาระผูกพันที่มีว่าอาจจะมีการจ่ายออกของกระแสเงินสดเพื่อชดเชยให้กับภาระผูกพัน
ที่คาดว่าจะเกิดนั้นๆ

• ความไม่แน่นอนด้านรายได้และค่าใช้จ่าย 
แนวทางในการวัดมูลค่ารายได้บางกรณี เช่น การประมาณการขั้นความสำเร็จของงานโดยพิจารณาถึงปัจจัยทาง
ความสำเร็จของงานในเชิงเทคนิคต่างๆ เช่น ทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งจะให้ประมาณการ
รายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการผ่านออกมาในงบกำไรขาดทุน หรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ของกิจการ

• ความไม่แน่นอนทางภาษีอากร 
เป็นหนึ่งในหลายกรณีที่มีความไม่แน่นอนอย่างชัดเจนอยู่ เรื่องหนึ่งคือความที่ไม่ได้เห็นไปในแนวทางเดียวกัน
ระหว่างผู้เสียภาษีกับหน่วยงานจัดเก็บภาษีบนรายการที่เกิดขึ้นในกรณีต่างๆ ทำให้ฐานภาษีไม่ว่า ฐานภาษีเงินได้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ อาจมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของระยะเวลา จำนวนเงิน อัตราภาษี

ซึ่งที่ผ่านมานั้นมีแนวความคิดหรือวิธีการปฏิบัติทางบัญชีในการจัดทำงบการเงินหลากหลายกันไป ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้
รายการเมื่อมีความชัดเจนหรือข้อสรุปเท่านั้น หรือการเปิดเผยเหตุการณ์ความไม่แน่นอนนี้ในหมายเหตุประกอบงบ
การเงินเพื่อให้ทราบถึงความไม่แน่นอนดังกล่าว และจะได้เตรียมตัวเตรียมใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อ
ความไม่แน่นอนหมดไป

  บางส่วนจากบทความ  ‘งบการเงิน’ กับการสะท้อนความไม่แน่นอนในบัญชีของกิจการ
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 194 เดือนกุมภาพันธ์ 2563



Accounting style : CPD Talk : วิทยา เอกวิรุฬห์พร
วารสาร : CPD&ACCOUNT กุมภาพันธ์ 2563