จุดสังเกต ดูที่ใบกำกับภาษีที่ได้รับ

กรณีที่ 1 รวมค่าสินค้าและค่าขนส่ง = ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
กรณีที่ 2 บิลเดียวกัน แยกรายการค่าสินค้าและค่าขนส่ง
กรณีที่ 3 แยกบิลค่าสินค้าและค่าขนส่ง
ดูว่า “ค่าขนส่ง”มี VAT หรือไม่
มี VAT ถือเป็นค่าสินค้า = ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ไม่มี VAT ถือเป็นค่าขนส่ง = ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
ทั้งนี้ไม่ว่าการขนส่งดังกล่าวจะใช้ยานพาหนะของผู้ขายเองหรือจ้างบุคคลอื่นให้ขนส่งให้

ตัวอย่าง 1
เลขที่หนังสือ : กค 0706/3978
วันที่ : 9 พฤษภาคม 2549 
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่ง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัท ส. จำกัด ประกอบกิจการซื้อมาขายไป ประเภทวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ และเครื่องมือในการก่อสร้าง
บริษัทฯ ขอทราบว่า กรณีบริษัทฯ เรียกเก็บเงินค่าสินค้าพร้อมค่าขนส่งจากลูกค้า ซึ่งบริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษี
แยกรายการค่าสินค้าและค่าขนส่งออกจากกัน แต่ระบุในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกัน เมื่อลูกค้าชำระค่าขนส่ง ลูกค้า
ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย บริษัทฯ มิได้
เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเป็นปกติ แม้บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีโดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งแยกออก
จากกัน บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้า ซึ่งรวมค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 65 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อเข้าลักษณะ
เป็นการขายสินค้า บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
เลขตู้ : 69/34171

ตัวอย่าง 2
เลขที่หนังสือ : กค 0811/17066 
วันที่ : 17 ธันวาคม 2541 
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่ง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 3 เตรส, มาตรา 79 
ข้อหารือ : บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายชั้นวางสินค้า ตู้เก็บเอกสาร ชิ้นส่วน กี่ยวกับเหล็ก
และอื่น ๆ โดยปกติบริษัทฯ จะจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยคิดค่าขนส่งแยกต่างหากจาก ราคาสินค้า ขอทราบว่า
บริษัทฯ จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ 
แนววินิจฉัย : : กรณีบริษัท ก. จำกัด เป็นผู้ประกอบการขายสินค้าและให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย โดยที่
บริษัทฯ มิได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งอยู่เป็นปกติธุระ ดังนั้น เมื่อมีการขายสินค้าพร้อมทั้ง บริการขนส่ง
ให้ด้วย ไม่ว่าการขนส่งนี้จะใช้ยานพาหนะของตนเองหรือจ้างบุคคลอื่นให้ขนส่งให้ และไม่ว่า จะแยกค่าขนส่งออก
จากราคาสินค้าหรือไม่ บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าซึ่งรวมค่าขนส่งมารวมคำนวณ เป็นฐานภาษี สำหรับการขาย
สินค้าเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และ เมื่อกรณีถือเป็นการขายสินค้าบริษัทฯ
จึงไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
เลขตู้ : 61/27350 


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ขายสินค้ามี “ค่าขนส่ง” ผู้ขายขนส่งเอง/จ้างผู้อื่นขนส่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร?