1. Asset Misappropriation Fraud (การยักยอก)

ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต
• ปลอมแปลงเอกสารเบิกเงิน
• เบิกค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง
• เซ็นต์รับงานที่ยังไม่เสร็จ
• จ่ายเงินเดือน / ค่าแรงให้พนักงานที่ไม่มีตัวตน
• นำเอกสารมาเบิกเงินซ้ำ
• ปลอมแปลงลายเซ็นผู้อนุมัติจ่ายเงิน
• ขายเป็นเงินสดแต่บันทึกเป็นลูกหนี้ นำเงินสดเข้ากระเป๋า
• นำเงินสดย่อยไปหมุนใช้ส่วนตัว

2. Procurement Fraud (ทุจริตด้านจัดซื้อ)
ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต
• มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ขาย
• ผู้ขายที่เสนอราคาไม่มีตัวตนจริง
• ราคาขาย / ค่าบริการของผู้ขายสูงเกินจริงและสูงกว่าราคาตลาด

3. Bribery & Corruption(การติดสินบน และการ คอร์รัปชั่น)
ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต
• การติดสินบน
• การให้หรือรับเงินใต้โต๊ะ
• การคอร์รัปชั่น
• การกรรโชกทรัพย์
• การหลอกลวง
• การสมรู้ร่วมคิด
• การฟอกเงิน

4. Cyber Crime(อาชญากรรมทางไซเบอร์)
ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต
• การแฮกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
• การนำ User / Password ของผู้อื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

5. Fraudulent Financial Reporting(การตบแต่งรายงานทางการเงิน)
ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต
• รับรู้รายได้ไม่ถูกต้อง
• รับรู้รายการบัญชีไม่ถูกหมวดบัญชี
• ไม่รับรู้หนี้สินที่เกิดขึ้น
• ไม่รับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
• บันทึกบัญชีผิดงวด
• ประเมินทรัพย์สินไม่เหมาะสม (อายุการใช้งาน มูลค่าซาก)


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 5 ประเภท การทุจริตและความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต