กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน 

ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365) กรณีมี
พนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท
ต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 2 เท่า
กิจการใดที่ดำเนินการจ้างคนพิการ แม้ว่าจะไม่มีหน้าที่จ้าง (มีพนักงาน/ลูกจ้างไม่ถึง 100 คน) หรือจ้างคนพิการ
เกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด (100 จ้าง 1 ) กิจการนั้นมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการนั้นมาลงรายจ่ายทางภาษี
เพิ่มได้อีก 1 เท่า รวมเป็น 2 เท่า! แต่คนพิการนั้นต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

ตัวอย่าง
บริษัทมีพนักงาน 200 คน จ้างคนพิการ 5 คน เงินเดือนคนละ 30,000 บาท ลงค่าใช้จ่าย 150,000บาท บริษัทนั้น
สามารถลงค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท (150,000บาท)
*ค่าใช้จ่าย หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส โอที หรือแม้แต่เงินสมทบ
ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 3 เท่า
ถ้ากิจการมีการจ้างคนพิการเข้ามาทำงาน โดยคนพิการมีจำนวนเกินกว่า 60% ของ พนักงานลูกจ้าง และมีระยะเวลา
ในการจ้างเกิน 180 วัน กิจการมีสิทธิลงรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการได้อีก 1 เท่า รวม 3 เท่า!

กรณีที่บริษัทไม่จ้างคนพิการ และไม่ประสงค์จะจ่ายเข้ากองทุน บริษัทสามารถดำเนินการตามรูปแบบอื่น
ที่ กม.กำหนด
(ม.35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ดังนี้
• ให้สัมปทาน (การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการ
ประกอบอาชีพ เช่น การให้สิทธิในลิขสิทธิ์ในการจําหน่ายสินค้า )
• จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ (การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการ
ประกอบอาชีพ)
• จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ
• การฝึกงาน (การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
เพื่อให้นําไปใช้ประกอบอาชีพ)
• จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก (การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทํางาน
ในสถานประกอบการ ให้สามารถทํางานได้ตาม ความเหมาะสม)
• ล่ามภาษามือ 
• ให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ (การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือ หรือ
ทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อม
ในการทํางาน)
บริษัทต้องทำโครงการนำเสนอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกหนังสืออนุมัติให้แล้วจึงสามารถดำเนินการ
ได้ (หากดำเนินการแล้วก็ไม่ต้องจ่ายเข้ากองทุน เพราะทำตามที่ กม.กำหนดแล้ว)

Q : กรณีบริษัทไม่ได้จ้างคนพิการเข้าทำงาน แต่จ่ายเงินเข้ากองทุน เงินที่จ่ายเข้ากองทุนลง บัญชีเป็นค่าใช้จ่าย
และในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามต้องบวกกลับหรือไม่?
A : สามารถลงเป็นรายจ่ายได้ ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่ลงได้แค่ 1 เท่า (เท่าที่จ่าย)

Q : กรณีบริษัทจัดทำโครงการตาม ม.35 บริษัทมีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาลงรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่?
A : สามารถลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะต้องมีจำนวนไม่เกินกว่าที่เราต้องจ่ายเข้ากองทุน
ตาม ม.34 (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365) และ ได้เฉพาะรายการที่มีรายจ่ายจริงเท่านั้น ถ้าไม่มีค่าใช้จ่าย ตอนลงภาษีก็ไม่มี
สิทธิลงค่าใช้จ่าย เช่น ข้อ 2 จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ ให้กับคนพิการ


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีกับการจ้างคนพิการ