มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ

     ภาษีเงินได้(บทที่15)



ในบทนี้กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินไดที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กรมสรรพากร)เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วิธีภาษีเงินได้ค้างจ่ายซึ่งแสดงภาระภาษีเงินได้ที่กิจการค้างชำระสุทธิหลังจากหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหรับรู้ไว้เป็นหนี้สินกล่าวคือให้ใช้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณตามหลักเกณฑที่กำหนดในประมวลรัษฎากรมาถือเป็นค่าใช้จายในงบกำไรขาดทุนและภาษีเงินได้นิติบุคคลสุทธิจากการภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหรับรู้เป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ได้ให้ทางเลือกสำหรับกิจการที่ประสงค์จะรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้และสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดยใช้วิธีหนี้สินตามงบแสดงฐานะการเงินให้ถือปฏิบัติตามข้อกำหนดทุกข้อในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่12เรื่องภาษีเงินได

     ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น(บทที่ 16)

ในเรื่องการประมาณการหนสี้นและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น นั้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีสาระสำคัญกับ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2552) เรื่องประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพยที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีของTFRS for NPAEs ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสินทรัพยที่อาจเกิดขึ้นและการประมาณการหนี้สินหมายถึงหนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ และใหกิจการรับรูประมาณการหนี้สินเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข 3 ข้อ ต่อไปนี้

 (1) กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน
 (2) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชนเชิงเศรษฐกิจต่อกิจการ เพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว
 (3) กิจการสามารถประมาณจำนวนเงินของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ

สำหรับการรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงานนั้นมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้รับรู้ผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นไปตามหลักการรับรู้รายการเช่นเดียวกับหลักการรับรู้ประมาณการหนี้สิน 3 ข้อดังกล่าวข้างต้นด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุด (The Best Estimate) ของรายจ่ายที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานอย่างไรก็ตาม หากกิจการประสงค์จะรับรู้ประมาณการหนี้สินสำหรับผลประโยชน์ของพนักงานตามแนวทางที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่19ผลประโยชน์ของพนักงานให้กิจการนำมาปฏิบัติตามข้อกำหนดทุกข้ออย่างสม่ำเสมอ

     เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน(บทที่ 17 )

ในเรื่องเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานไม่แตกต่างอย่างมีสาระสำคัญจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่10 (ปรับปรุง 2552) เรื่องเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานกล่าวคือ เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน หมายถึงเหตการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานกับวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดีเหตุการณดังกล่าวสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ต้องบันทึกรายการปรับปรุงและเหตุ
การณที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังรอบระยะเวลารายงานซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ไม่ต้องปรับปรุง

    รายได้ (บทที่ 18 )

ในเรื่องรายได้หมายถึงกระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลารายงานซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการเมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของและรายการกำไร ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของและไม่รวมถึงจำนวนเงินที่กิจการเรียกเก็บแทนบุคคลที่สามเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มในทำนองเดียวกันจำนวนเงินที่ตัวแทนเรียกเก็บแทนตัวการซึ่งถือเป็นกระแสรับขั้นต้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ไม่ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นจึงไม่ถือเป็นรายได้เว้นแต่จำนวนที่เรียกเก็บนั้นเป็นค่านายหน้าการรับรู้รายได้จากการขายสินค้า 
กล่าวคือให้กิจการรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข 5 ข้อ ได้แก่กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วกิจการไม่เกี่ยวข้อง

ในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำหรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อมกิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือมีความเป็นไปไดค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น ตลอดจนกิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากรายการบัญชีนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือสำหรับการใหบริการนั้นให้กิจการรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องกับการใหบริการเป็นรายได้ตามขั้นความสำเร็จ ของรายการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของรายการที่เกี่ยวข้องกับการใหบริการได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งผลของรายการสามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข 4 ข้อต่อไปนี้ กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายไดได้อย่างน่าเชื่อถือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแนที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น กิจการสามารถวัดขั้นความสำเร็จของรายการบัญชี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานไดอย่างน่าเชื่อถือตลอดจนกิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งต้นทุนในที่นี้ หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้ว และที่จะเกิดขึ้นเพื่อทำใหรายการบัญชีนั้นเสร็จสมบูรณ

ข้อกำหนดในบทนี้มีความแตกต่างจาก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) เรื่องรายได ในเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ย โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้อนุญาตให้กิจการที่ไม่มีส่วนไดเสียสาธารณะรับรู้ดอกเบี้ยรับตามวิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างจากวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงอย่างมีสาระสำคญั ในขณะที่TAS 18 กำหนดให้กิจการรับรู้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเท่านั้นส่วนข้อกำหนดให้รับรู้รายได้ในรูปดอกเบี้ยค่าสิทธิและเงินปันผลที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้รับรูเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อน   ข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชนเชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้นและกิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ ได้อย่างน่าเชื่อถือรวมทั้งยังมีเกณฑ์ในการรับรูรายไดค่าสิทธิและเงินปันผลก็ไม แตกต่างกัน คือให้กิจการรับรู้รายได้ค่าสิทธิตามเกณฑ์คงค้างซึ่งเป็นไปตามเนื้อหาของข้อตกลงที่เกี่ยวข้องรวมทั้งให้กิจการรับรูรายไดเงินปันผลเมื่อผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผล 


ข้อมูลจาก : วารสาร CPD & Account ฉบับเดือนมกราคม 2558